ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของ นางสาวศุภศจี เตชะดี 554144088 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษาค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แนะนำตัว




สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อนางสาวศุภศจี เตชะดี นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ชั้นปีที่ 2 หมู่ที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎหมูบ้านจอมบึงค่ะ บล็อกนี้ดิฉันจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้และใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้สำหรับผู้ที่สนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบล็อกนี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่มาเข้าชมไม่มากก็น้อย




@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@


วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

         ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้ การสร้าง การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน


วัตถุประสงค์

  เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหากิจกรรมในบทเรียนแล้วจะมีความสามารถหรือพฤติกรรมอันนี้

1.อธิบายความหมาย ความสำคัญ หลักการ และแนวคิดนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษาได้

2.อธิบายบทบาท คุณค่า ประเภท และประโยชน์ของนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษาได้

3.อธิบายความสัมพันธ์ของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้

4.บอกขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม และเปรียบเทียบความแตกต่างกับเทคโนโลยีได้อย่างชัดเจน

5.บอกความหมาย ขั้นตอนและกระบวนการของการเรียนรู้ การรับรู้ตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละวัยได้

6.วิเคราะห์สาเหตุในการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการปัญหาทางการศึกษาได้

7.ยกตัวอย่างนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาในยุคปัจจุบันได้

8.ออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้

9.ปรับปรุงและเลือกใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษากับการเรียนการสอนได้

10.ประเมินผลนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้

11.ระบุและเสนอแนะแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้

12.ออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้



เนื้อหาบทเรียน

หน่วยการเรียนที่ 1 แนวคิด ทฤษฎี ความหมายความสำคัญของนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษา

หน่วยการเรียนที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

หน่วยการเรียนที่ 3 สื่อการเรียนการสอน

หน่วยการเรียนที่ 4 วิธีระบบ

หน่วยการเรียนที่ 5 จิตวิทยาการเรียนการสอน

หน่วยการเรียนที่ 6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้

หน่วยการเรียนที่ 7 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

หน่วยการเรียนที่ 8 หนังสืออีเล็กทรอนิกส์(e-Book)

หน่วยการเรียนที่ 9 สื่อมัลติมีเดีย (Multi-Media)

หน่วยการเรียนที่ 10 การเรียนการสอนแบบผสมผสาน


รูปแบบของกระบวนการเรียนการสอน

          ·วิธีสอน : เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)
          ·เนื้อหาบทเรียน : เนื้อหาวิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา
          · เครื่องมือกำกับการเรียนรู้ : ความซื่อสัตย์(integrity)



กิจกรรมการเรียนการสอน

1.รูปแบบการสอนเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน(blended learning)ระหว่าง การเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ(Face-to-Face or Traditional Classroom) กับ การเรียนการสอนบนออนไลน์โดยใช้เว็บบล็อก (Online Learning with Weblog)โดยใช้อัตราส่วน 39% - 79%

2.เทคนิควิธีสอน
2.1 การบรรยายประกอบสื่อการเรียนการสอน
2.2 การมอบหมายงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
2.3 การทำงานเป็นกลุ่มด้วยการแสดงความคิดเห็น
          - การซักถาม
          - การอภิปราย
          - การทำแบบฝึกหัด
          - การแสดงผลงาน


การบูรณาการกับความพอเพียง
          - ความมีเหตุผล
          - ความพอประมาณ
          - ภูมิคุ้มกันในตนเองที่ดี
          - เงื่อนไขความรู้ : รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
          - เงื่อนไขคุณธรรม : ซื่อสัตย์ แบ่งปัน



ลักษณะที่พึงประสงค์

      ผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้จะต้องเป็นผู้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำคัญได้แก่ ความซื่อสัตย์ โดยแสดงออกอย่างบูรณาการอย่างสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่างๆไปพร้อมๆกับกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน เช่น 

          - ความรับผิชอบและตรงต่อเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
          - มีความรักความสามัคคีในกลุ่มผู้เรียนร่วมวิชาเอกเดียวกันและวิชาเอกอื่นๆ
          - ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์
          - ใฝ่ดี ใฝ่รู้ สู้งาน
          - มีความคิดสร้างสรรค์
          - มีระเบียบวินัยในการแต่งกาย
          - สุภาพ เสรีภาพ อ่อนน้อม และให้เกียรติผู้อื่น


แหล่งเรียนรู้

     1. ห้องสมุด
     2. อินเตอร์เน็ต
    3. เอกสารประกอบการสอน
    4. ตัวอย่างเว็บบล็อก
    5. สื่อของจริง ของตัวอย่าง
    6. ชุมชนท้องถิ่น



ความซื่อสัตย์ (integriry)

          เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถ(competency)อย่างหนึ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของบุคคล ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ น่าเชื่อถือ และเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้และดำเนินงานของบุคคลหรือองค์กรการจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในภาคเรียนที่2/2554 มุ่งเน้นในการใช้ความซื่อสัตย์เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อกำกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในแบบรายบุคคลและแบบทีม โดยมีเกณฑ์เบื้องต้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติ 5 ระดับ ดังนี้


ระดับความซื่อสัตย์

     1. ระดับตำกว่ามาตรฐานที่กำหนดอย่างมากให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากความจริงเป็นเหตุให้เกิดปัญหาหรือความเข้าใจผิดหลีกเลี่ยงการตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบปฏิเสธ/ไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นละเมิดระเบียบหรือกฎเกณฑ์อยู่เสมอ

     2. ระดับตำกว่ามาตรฐานดูแลและรักษาทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นบางครั้งตักเตือนหรือแจ้งผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎเท่าที่จำเป็นไม่ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของส่วนร่วมเป็นบางครั้ง

3. ระดับมาตรฐานที่กำหนดรับฟังและไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาเปิดเผยดูและและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของส่วนรวมอยู่เสมอไม่นำทรัพย์สินของส่วนรวมมาใช้ประโยชน์ส่วนตัวประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎอยู่เสมอ

4. สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่อาจสร้างความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดขึ้นให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับกลุ่มคน เวลา และสถานการณ์ตักเตอืนสมาชิกในทีมเมื่อทำผิดระเบียบหรือกฎยอมรับและหาทางแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง

5. สูงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนดแจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีจรรยาบรรณและคุณธรรมในการทำงานนำทรัพย์สินของตนเองมาใช้เพื่อใกรทำงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด


ประโชยน์และคุณค่าของความซื่อสัตย์

     1. ส่งเสริมให้เกิดความเมตตาธรรม
     2. ปราศจากความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน
     3. เป็นพื้นฐานในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม
     4. ส่งเสริมความรักและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
     5. เป็นพฤติกรรมที่ปราศจากความหวาดระแวง
     6. เป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
     7. นำไปสู่ความรักและเคารพในเกียรติของตนเองและบุคคลอื่น
     8. เป็นการเคารพสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือความรู้สึกคนอื่น
     9. ช่วยรักษาปกป้องผลประโยชน์ของตนเองหรือองค์กรอย่างตรงไปตรงมา
    10. ช่วยสร้างความอบอุ่นแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม
    11. ช่วยส่งเสริมความเป็นระเบียบและมีวินัยในตนเองและสังคม
    12. ช่วยสร้างความจริงใจและไว้วางใจซึ่งกันและกันได้